E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
บทความ
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่ แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำ ความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่
แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสมซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย
ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้" ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้นเป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า"แนวทางขอสสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่าจะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชาเพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ" " สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"
นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใดไม่ เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับ เด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้นอาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 23/09/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 ห้อง 434
การนำประยุกต์ใช้
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะสิ่งต่างๆที่ของเเต่ล่ะกลุ่มได้นำมานี้ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเด็กก็เคยเห็นทำให้เด็กได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเเละรู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์เเละมรกี่สายพันธุ์
การประเมิน
- ตนเอง ตั้งใจเรียนบ้าง คุยกันบ้างในระหว่างที่อาจารย์สอน แต่ก็ยังมีการจดบันทึกทุกครั้งที่เรียน เเต่งกายเรียบร้อย
- เพื่อน มีการส่งเสียงดังกันบ้าง แต่ก็ช่วยกันตอบคำถาม เเต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์ผู้สอน มีการสอนเนื้อหาได้เข้าใจ และมักจะใช้คำถามปลายเปิดในการถาม แล้วให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีการนำเสนอ เพาว์เวอร์พอย ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16/09/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 ห้อง 434
สรุปความรับของเเสง
ความลับของเเสง
แสงคือคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นของน้ำทะเลมีความยาวของแสงสั้นมากและในขณะเดียวกันก็มีคลื่นที่เร็วมาก 300,000 ก.ม ต่อวินาที และแสงมีความสำคัญมากกับการดำเนินชีวิตของคน พืช และสัตว์ ถ้าเกิดเราอยู่ในที่มืดแล้วจู่ๆก็เกิดแสงสว่างขึ้นมา เราจะเกิดอาการแสบตา เพราะเกิดจากการปรับตัวกับแสงสว่างไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงปริมาณแสงเร็วเกินไป
สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุได้นั้น ก็เพราะว่า แสงส่องมาโดนวัตถุแล้วก็สะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา
วัตถุบนโลกมีทั้งหมด 3 แบบ
1.วัตถุโปร่งแสง คือ แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัด
3.วัตถุโปร่งแสง คือแสงผ่านไปปได้ทั้งหมด สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
4.วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา
ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทางทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่สองลงมาตลอดเวลา เช่นเดียวกับการสองกระจก มักจะกลับข้างกับตัวเราเสมอ เหมือนกับการที่เราใส่นาฬิกาข้างขวา แต่เมื่อเราส่องกระจกก็จะกลายเป็นนาฬิกาข้างซ้าย เป็นต้น
ตา ของเรานั้นมีรูเล็กๆ เรียกว่า รูรับแสง เมื่อผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัว แต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกตินั้น เพราะว่าสมองกลับภาพเป็นปกติโดยอัตโนมัตินั้นเอง
การหักเหของแสง เกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางการเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ แสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเดินเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
เงา เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง ป็นหลักธรรมชาติคือเงาของวัตถุทีี่จะเกิดขึ้นจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงา นั่นเอง
การนำไปใช้ประโยชน์
สามารถนำเนื้อหาที่เรียน นำไปใช้เป็นความรู้ให้เเก่ได้ในอนาคต สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เเก่เด็กได้
การประเมิน
- ตนเอง ตั้งใจเรียนบ้าง คุยกันบ้างในระหว่างที่อาจารย์สอน แต่ก็ยังมีการจดบันทึกทุกครั้งที่เรียน เเต่งกายเรียบร้อย
- เพื่อน มีการส่งเสียงดังกันบ้าง แต่ก็ช่วยกันตอบคำถาม เเต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์ผู้สอน มีการสอนเนื้อหาได้เข้าใจ และมักจะใช้คำถามปลายเปิดในการถาม แล้วให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีการนำเสนอ เพาว์เวอร์พอย ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 09/09/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
การนำไปใช้ประโยชน์
สามารถนำเนื้อหาที่เรียน เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย ไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการของเด็กปฐมวัย โดยจะต้องมุ่งส่งเสริม ให้มีการพัฒนาไปพร้อมๆกันทั้ง 4 ด้าน เเละสามารถนำใช้กับเด็กได้จริง ทำให้เราเข้าใจในตัวเองยิ่งขี้นอีกด้วย
การประเมิน
- ตนเอง ตั้งใจเรียนบ้าง คุยกันบ้างในระหว่างที่อาจารย์สอน แต่ก็ยังมีการจดบันทึกทุกครั้งที่เรียน เเต่งกายเรียบร้อย
- เพื่อน มีการส่งเสียงดังกันบ้าง แต่ก็ช่วยกันตอบคำถาม เเต่งกายเรียบร้อย
- อาจารย์ผู้สอน มีการสอนเนื้อหาได้เข้าใจ และมักจะใช้คำถามปลายเปิดในการถาม แล้วให้นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีการนำเสนอ เพาว์เวอร์พอย ให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 02/09/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 ห้อง 434
..................................................................................................................................................
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากได้เข้าร่วมกิจกรรมของคณะ "โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ" "Thinking Faculty" เป็นงานที่พี่ปี4 ได้จัดซุ้มของเเต่ละเอก ของคณะศึกษาศาสตร์ วันนี้จึงไม่มีจึงไม่มีการเรียน เเต่ปัยศึกษาดูงานที่เเต่ละซุ้มพี่จัดขึ้น
*รูปภาพที่เข้าร่วมกิจกรรม
บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26/08/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 ห้อง 434
..................................................................................................................................................
บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Science Experiences Management for Early Childhood )
รหัสวิชา EAED3207
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26/08/57 ภาคเรียนที่ 1/2557
กลุ่ม102 เรียนวันอังคาร 14:10 - 17:30 ห้อง 434
..................................................................................................................................................
สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนวันแรกของรายวิชา ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์แจกแนวการสอน (Coures Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา สิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้
*(Course Syllabus)
การนำไปใช้ประโยชน์
สามารถนำเนื้อหา คำชี้แจง ในวิชานี้ไปปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอนในวิชาอื่นได้ เพื่อจะได้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนในวิชาที่เรียน
การประเมิน
- ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟัง ในเนื้อหาที่อาจารย์สอน
- ประเมินเพื่อน เพื่อนบางกลุ่มอาจจะมีการตั้งใจเรียน และอาจจะคุยกันบ้าง
- ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์มักจะใช้คำถามปลายเปิดในการถามนักศึกษาเพื่อให้ นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)